บทที่ 5
มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคาร
กฎกระทรวงฉบับที่6 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 17 ในหมวดแรงลม ได้กำหนดค่าหน่วยแรงลมที่กระทำกับอาคารเปลี่ยนแปลงตามความสูงของอาคารแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยอื่น เช่น ตำแหน่งที่ตั้งของอาคารว่าอยู่ในเขตที่มีความเร็วลมอ้างอิงและลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน เป็นต้น ดังนั้นกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ดำเนินการให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาจัดทำมาตรฐานว่าด้วยการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคารสำหรับประเทศไทย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแรงลมภายในประเทศไทยให้ทันสมัยและมีความถูกต้องสมบูรณ์ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้มาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในประชาคมวิชาชีพระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ มาตรฐานฉบับใหม่นี้ได้คำนึงถึง ความเร็วลมอ้างอิงในเขตต่างๆ ลักษณะภูมิประเทศ รูปร่างของอาคาร และคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของอาคาร ซึ่งเป็นรูปแบบของมาตรฐานการคำนวณแรงลมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
(กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย, 2550)
5.1 รูปแบบของการคำนวณแรงลม
ข้อพิจารณาหลักของการออกแบบอาคารต้านแรงลม
-
ระบบโครงสร้างหลักของอาคาร
องค์อาคาร และส่วนประกอบอื่นของอาคาร ต้องได้รับการออกแบบให้มีกำลัง (strength) และเสถียรภาพ
(stability) ที่สูงเพียงพอที่จะสามารถต้านทางแรงลมหรือผลเนื่องจากแรงลมได้อย่างปลอดภัย
โดยไม่เกิดความเสียหายใดๆ
-
การโก่งตัวด้านข้าง (lateral deflection) ของอาคารเนื่องจากแรงลมจะต้องมีค่าน้อยเพียงพอที่จะไม่ให้เกิดความเสียหายแก่องค์อาคารหลักและองค์อาคารรอง
-
การสั่นไหวของอาคาร ( building motion ) ที่เกิดจากแรงลม ทั้งในทิศทางลมและทิศตั้งฉากกับทิศทางลม มีระดับต่ำเพียงพอที่จะไม่ทำให้ผู้ใช้อาคารรู้สึกไม่สบาย
หรือเกิดอาการวิงเวียน
5.2 การกำหนดค่าแรงลมสถิตเทียบเท่า
การกำหนดค่าแรงลมสถิตเทียบเท่ามี
3 วิธี ดังนี้
1. วิธีการอย่างง่าย วิธีการอย่างง่ายใช้กับโครงสร้างต่อไปนี้
-
ระบบโครงสร้างหลักต้านทานแรงลม
(main
wind-force resistance system) ของอาคารเตี้ย
และอาคารสูงปานกลางที่มีความสูงไม่เกิน 80 เมตร และมีความสูงไม่เกิน 3 เท่าของความกว้างประสิทธิผลที่น้อยที่สุด ยกเว้นอาคารที่ระบุไว้ในหัวข้อ 2
-
ผนังภายนอกอาคาร
(cladding) ของอาคารทุกประเภท
2. วิธีการอย่างละเอียด วิธีการอย่างละเอียดใช้กับโครงสร้างต่อไปนี้
-
อาคารที่มีความสูงเกิน
80 เมตร หรือมีความสูงเกิน 3 เท่าของความกว้างประสิทธิผลที่น้อยที่สุด
-
อาคารที่สั่นไหวง่าย
ได้แก่ อาคารที่มีน้ำหนักเบา และมีความถี่ธรรมชาติต่ำ และมีคุณสมบัติความหน่วงของอาคารต่ำ
แผนภาพขั้นตอนการคำนวณแรงลมและการตอบสนองโดยวิธีการอย่างง่ายและวิธีการอย่างละเอียด
แสดงในรูปที่ 3 โดยหมายเลขหัวข้อและรูปอ้างอิงตามมาตรฐานในเอกสารอ้างอิง 10 และ 12
3. วิธีการทดสอบในอุโมงค์ลม
วิธีการทดสอบในอุโมงค์ลม
ใช้กับอาคารหรือโครงสร้างที่มีความอ่อนไหวต่อแรงลมเป็นพิเศษ
และใช้กับอาคารซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตที่ระบุไว้ในมาตรฐานการคำนวณแรงลม
การทดสอบในอุโมงค์ลมสามารถใช้แทนการคำนวณแรงลมโดยวิธีการอย่างง่าย
และวิธีการอย่างละเอียด
5.3 มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคารของประเทศไทย
ตามมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1311-50)
การคำนวณแรงลมสถิตเทียบเท่า
หน่วยแรงลมที่กระทำบนพื้นผิวภายนอกของอาคารในทิศทางลม
สามารถคำนวณได้จากสมการ
โดยที่
ความเร็วลมอ้างอิง
คือ ค่าความเร็วลมเฉลี่ยในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง ที่ความสูง 10 เมตรจากพื้นดิน
ในสภาพภูมิประเทศโล่ง (open exposure, สำหรับคาบเวลากลับ (return
period) 50 ปี ค่าประกอบเนื่องจากสภาพภูมิประเทศ
การคำนวณค่าแรงลมโดยวิธีการอย่างละเอียด
คำนึงถึงสภาพภูมิประเทศเป็น 3 แบบ ดังนี้
ภาพที่ 5.3.1
สภาพภูมิประเทศ
ที่มา : หลักการพื้นฐานสำหรับการคำนวณแรงลมและผลตอบสนองสำหรับการออกแบบอาคาร (นคร ภู่วโรดม, 2550)
|
-
สภาพภูมิประเทศแบบ
A เป็นสภาพภูมิประเทศแบบโล่ง หรือเป็นบริเวณชายฝั่งทะเล
-
สภาพภูมิประเทศแบบ
B เป็นสภาพภูมิประเทศแบบชานเมือง หรือบริเวณศูนย์กลางเมืองขนาดเล็ก
-
สภาพภูมิประเทศแบบ C เป็นสภาพภูมิประเทศของบริเวณศูนย์กลางเมืองใหญ่
ความเร็วลมอ้างอิง
นิยาม ความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 ชั่วโมง ที่ระดับสูง 10 ม.กรณีที่มีสภาพแวดล้อมเปิดโล่งพื้นที่อื่นยกเว้นภาคใต้
- คาบย้อนกลับของความเร็วลมอ้างอิงประมาณ 50 ปี
- คาบย้อนกลับของหน่วยแรงลมที่สภาวะจำกัดด้านการใช้งานประมาณ 20-30 ปี
- โอกาสเสี่ยงที่หน่วยแรงลมที่สภาวะจำกัดด้านกำลังจะถูกละเมิดประมาณร้อยละ 5 สำหรับอาคารปกติ ตลอดอายุใช้งาน
30 ปี
พื้นที่ภาคใต้ (อิทธิพลพายุหมุนเขตร้อน)
- อาคารที่มีความสำคัญสูงต้องไม่พังทลาย
- หน่วยแรงลมที่สภาวะจำกัดด้านกำลังสำหรับอาคารที่มีความสำคัญสูงเทียบเท่ากับหน่วยแรงลมที่ประมาณจากพายุไต้ฝุ่นเกย์
ภาพที่ 5.3.2
แผนที่ความเร็วลมอ้างอิง
ที่มา : แผนที่ความเร็วลมอ้างอิงสำหรับการออกแบบอาคารของประเทศไทย
(นเรศ ลิมสัมพันธ์เจริญ, 2550)
|
ค่าประกอบเนื่องจากการกระโชกของลม
สำหรับวิธีการอย่างละเอียด คำนวณได้ดังนี้
ซึ่งมาตรฐานนี้ มีคำอธิบายอย่างละเอียดในแต่ละขั้นตอนการคำนวณของมาตรฐาน มาตรฐานนี้มีการคำนึงถึงการตอบสนองของอาคารในทิศทางลม ในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางลม และการบิดของอาคาร โดยการหาค่าตัวแปรต่างๆหาได้จากภาพซึ่งไม่ยุ่งยาก แต่อาจเกิดความผิดพลาดได้ แต่ก็สามารถคำนวณได้จากสมการข้างต้นนั้น อย่างไรก็ตามการคำนวณต่าง ๆ ต้องอาศัยการทดสอบในอุโมงค์ลมเพื่อเปรียบเทียบค่าที่เกิดขึ้นจริงต่อโครงสร้างเพราะอาคารมีความสูง งบประมาณในการใช้ก่อสร้างและดำเนินการทั้งโครงการมีความสำคัญอย่างยิ่ง และมีมูลค่าสูง